เห็นได้ว่าสังคมในประเทศญี่ปุ่นนั้น หลายปีที่ผ่านมา ตลาดกลุ่มผู้สูงอายุเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 จากประชากรทั้งหมด ที่เป็นผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปี ดังนั้นจึงส่งผลให้ธุรกิจในญี่ปุ่นหลากหลายธุรกิจ เริ่มหันมาเล็งเห็นช่องวางจากโอกาสนี้ โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจับตลาดสินค้าผู้สูงอายุแทน
กลุ่มธุรกิจที่มีการปรับตัว เพื่อคนสูงวัย ที่น่าสนใจ มีดังนี้
แท็กซี่ให้บริการเฉพาะผู้สูงอายุ
เพราะในประเทศญี่ปุ่น กลุ่มผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่คนเดียว หรืออยู่กันแค่เพียงสองสามีภรรยา ไม่มีลูกหลานคอยดูแล จึงทำให้ระบบการเดินทางได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุจะเลือกใช้ “แท็กซี่” ซะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราจึงพบได้ว่า บริษัทแท็กซี่หลายแห่งในญี่ปุ่นนั้น เริ่มปรับมาให้บริการกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุอย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เนื่องกลุ่มผู้สูงอายุมีความจำเป็นต้องใช้บริการแท็กซี่บ่อย เช่น ไปโรงพยาบาล หรือธนาคาร เป็นต้น ในขณะเดียวกัน รถแท็กซี่บางรุ่น ถูกปรับมาให้สามารถใส่รถเข็น หรือสามารถเข็นขึ้นรถได้เลย จึงทำให้ผู้สูงอายุไม่ต้องเป็นกังวลว่า จะก้าวขึ้นก้าวลงลำบาก
สินค้าแก้เหงา
อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นนี้แล้วว่า กลุ่มผู้สูงอายุในญี่ปุ่น โดยส่วนมากจะอยู่คนเดียว หรือสองคน ไม่มีลูกหลานเต็มบ้านเหมือนอย่างไทยเรา หากใครเคยจำได้ เคยมีข่าวฮือฮาในสังคมญี่ปุ่น เมื่อบริษัทผู้ผลิตตุ๊กตาริกะ หรือตุ๊กตาบาร์บี้ญี่ปุ่น ได้ออกมาประกาศสมาชิกใหม่ในครอบครัวของสาวน้อยริกะ ซึ่งสมาชิกใหม่นี้คือ คุณยาย นั่นเอง จึงสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีเวลาว่างมากขึ้นนั่นเอง
ซึ่งแต่เดิมนั้น ในครอบครัวของสาวน้อยตุ๊กตาริกะนั้น จะมีเพียงแค่คุณพ่อ คุณแม่ ลูกสาว และสุนัข ดังนั้นการที่บริษัทตัดสินใจเพิ่มตุ๊กตาคุณยายเข้าไป เนื่องจากบริษัทสังเกตเห็นว่า ผู้สูงอายุเริ่มอยู่บ้านเลี้ยงหลานมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้คุณยายสามารถสื่อสาร และเล่นสนุกกับหลาน ๆ ได้ ทางบริษัทจึงได้เพิ่มตุ๊กตานี้เข้าไป และก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ
โดยปกติทั่วไปแล้ว คนญี่ปุ่นมักทำอาหารทานเองที่บ้าน แต่เมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น ในเรื่องของการทำอาหาร ก็ไม่สามารถทำได้คล่องแคล่วเหมือนดังแต่ก่อน หรือจะออกไปซื้อวัตถุดิบจากซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็เป็นเรื่องยากลำบาก จึงทำให้หลาย ๆ บริษัทเห็นการเปลี่ยนแปลงจากปรากฎการณ์นี้ จึงหันเข้ามาจับตลาดนี้ เพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุ ดังนั้นเราจะเห็นได้วา มีแพ็คอาหารเล็ก ๆ บรรจุกับข้าวญี่ปุ่น เช่น ผักต้มโชยุ หรือปลาย่างมิโสะ ในราคาแค่แพ็คละ ร้อยกว่าเยนเท่านั้นเอง
นอกจากนี้ ยังมีอาหารบางรายการที่สามารถพัฒนาเป็นอาหารแช่แข็ง แต่ยังคงคุณค่าทางอาหารครบ จัดเป็นเซ็ตหนึ่งสัปดาห์ พร้อมส่งตรงถึงหน้าบ้านผู้สูงอายุ โดยจุดเด่นของอาหารประเภทนี้คือ อาหารรสไม่จัดจนเกินไป