ผู้จัดการศิลปิน (talent manager, artist manager) หรือ ผู้ดูแลศิลปิน (Artist Relation) เป็นบุคคลหรือบริษัทที่แนะแนวการทำงานอย่างมืออาชีพกับศิลปินในอุตสาหกรรมบันเทิง หน้าที่รับผิดชอบของผู้จัดการคือ ดูงานของศิลปิน ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาสิ่งที่ต้องทำในการเป็นศิลปิน, การวางแผนระยะยาวและการตัดสินใจส่วนตัวที่ส่งผลต่ออาชีพ
บทบาทและหน้าที่ของผู้จัดการศิลปินมีความแตกต่างกันในแต่ละแขนง ในแต่ละงานเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนตามหน้าที่ของตน ตัวอย่างเช่น หน้าที่ของผู้จัดการเพลงจะแตกต่างจากหน้าที่ผู้จัดการศิลปินที่ให้คำแนะนำนักแสดง นักเขียน หรือผู้กำกับ ผู้จัดการอาจช่วยศิลปินหาเอเยนต์ (agent) หรือช่วยตัดสินใจตอนจะออกจากเอเยนต์หนึ่งไปยังอีกเอเยนต์หนึ่ง เอเยนต์ศิลปินมีอำนาจที่จะต่อรองกับลูกค้าของพวกเขา ขณะที่ผู้จัดการสามารถมีเพียงความสัมพันธ์ไม่เป็นทางการกับเหล่าโปรดิวเซอร์และสตูดิโอ แต่ไม่สามารถต่อรองสัญญาได้
ใครคือคนดูแลศิลปิน (Artist Relation)
จริงๆ แล้วคนดูแลศิลปินมีหลายตำแหน่ง เช่น ผู้จัดการ ที่ดูแลศิลปินที่หน้างานเมื่อต้องออกงาน พีอาร์ หน้าที่หลักคือการพาศิลปินไปโปรโมต รวมถึงเขียนข่าวส่งไปตามสื่อ แต่ก็ต้องดูแลศิลปินด้วยในระหว่างที่ออกทัวร์ และเออาร์ คือตำแหน่งดูแลศิลปินที่ต้องคอยดูสารทุกข์สุกดิบของศิลปินในระหว่างทำงาน
งานของผู้จัดการและพีอาร์
ก็คือการจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อย ถ้ามีงานมาสักงาน ผู้จัดการก็ต้องติดต่อวงดนตรี ทีมงาน แบ็กสเตจ ตากล้อง ประสานงานให้ทุกฝ่ายมาในเวลาที่เหมาะสม รวมไปถึงตรวจเช็กสถานที่ว่ามีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง
ส่วนงานของพีอาร์จะไม่จบแค่หน้างานเหมือนผู้จัดการหรือเออาร์ บางครั้งถ้าพาศิลปินไปงานแถลงข่าวมาก็ต้องกลับมาเขียนข่าวส่งเลยเหมือนกัน ทำทั้งงานพรีโปรดักชัน และโพสต์โปรดักชันเลย
ในยุคนี้พีอาร์อาจมีส่วนร่วมงานพาร์ตครีเอทีฟด้วย คือคิดว่าศิลปินบุคลิกอย่างนี้จะต้องไปออกสื่อไหนที่เข้ากับลักษณะของวง
เริ่มต้นในสายอาชีพนี้ได้อย่างไร ?
เริ่มต้นจากการที่เราเข้ามาฝึกงาน แต่แรกเริ่มก่อนหน้าจะฝึกงานคือตอนเรียนรู้จักคนเยอะ เลยลองส่งโปรไฟล์ของน้องๆ พี่ๆ ที่รู้จักกันให้ลองไปแคสโฆษณาดู เเล้วรู้สึกว่ามันสนุกดีเลยอยากทำด้านนี้ เลยสมัครเข้าไปฝึกงานเพื่อจะได้มีคอนเนคชั่นที่กว้างขวางขึ้น
งานหลักที่ต้องทำ คืออะไร ?
ดูแลศิลปินเมื่อออกงานอีเวนท์
ถ้าไปงานอีเวนท์จะต้องคอยดูว่าศิลปินนั้นต้องแต่งตัวไปก่อนหรือมาแต่งในงาน แล้วหากมาแต่งที่งานก็ต้องเช็คก่อนว่ามีช่างหน้าช่างผมให้ไหม ส่วนมากถ้าไม่มีก็มักจะแต่งที่ค่าย หรือแต่งที่บ้านศิลปินเอง หรือหากต้องออกงานเช้ามากๆ โดยถ้าเอาช่างมาเอง ตัวผู้จัดการก็ต้องเป็นคนดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆด้วย
ดูแลศิลปินเมื่อไปกองถ่าย
เวลาไปกองถ่ายจะแตกต่างจากการไปงานอีเวนท์ เพราะเราต่อบทร่วมด้วย โดยต้องดูว่าน้องทำการบ้านมาไหม วันนี้ถ่ายซีนไหนบ้าง เช็คตารางงานให้แม่นยำ คอยดูว่าบทที่ได้มาในวันนี้น้องเล่นได้ไหม หรือผู้กำกับมีฟีดแบ็คอย่างไรกับการแสดง
หรือถ้าวันนี้เล่นได้แย่มาก เราก็ต้องมาหาวิธีแก้ ต้องดูว่าปัญหาจากอะไร เช่น นักแสดงพูดไม่ชัดเพราะเป็นลูกครึ่ง หรือเรียนนานาชาติมาตลอด เราก็ต้องฝึกก่อนหน้าวันถ่าย อาจต้องนัดเจอกันเพื่อมาฝึกพูด ร เรือ ล ลิง โดยมาฝึกพูดกับเรา เรียกได้ว่าเหมือนเป็นคุณครูด้วย
อีกเรื่องคือคอยสำรวจว่าศิลปินเข้ากับนักแสดงคนอื่นได้ไหม และถ้าเข้าคนในกองไม่ได้เลย ตัวผู้จัดการจึงเหมือนตัวเชื่อมความสัมพันธ์ เช่น ทานข้าวร่วมกันกับนักแสดง และทีมงานคนอื่นๆ แล้วพอเขาชวนคุยน้องจะละลายพฤติกรรมมากขึ้น ซึ่งพอสนิทขึ้นคนจะไม่มองว่าศิลปินของเราหยิ่งแล้ว และคอยดูด้วยว่าเด็กของเรามีสัมมาคารวะ ไปลามาไหว้ไหม
เช็คคิว
เราต้องติดต่อประสานงาน และคอยดูว่าเมื่อถึงงานแล้วต้องติดต่อใคร งานจัดอยู่ที่ไหน เดินทางอย่างไร และต้องนัดศิลปินด้วยว่าเจอกันที่ไหน แล้วต้องดูว่าในงานต้องแต่งตัวอย่างไร
คอยเช็คความรอบคอบ
ถ้าไปกองถ่ายแล้วมีการถ่ายที่นอกเหนือบท เช่น ให้ใส่ชุดว่ายน้ำ เราก็ต้องพูดแทนน้องได้ว่ามันโป๊ไปนะ เพราะไม่มีเสื้อซ้อนให้เลย ซึ่งถ้าเขาไม่เตรียมเราก็จะบอกน้องให้ถือติดไปตลอด เช่น ถ่ายทะเล ก็ต้องเตรียม อุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ รองเท้าเเตะ ชุดอีกหนึ่งชุด
หรือถ้ายืมเสื้อผ้าจากร้านดังๆมา ก็ต้องดูแลเสื้อผ้าให้ดี ให้เหมือนกับตอนที่ออกจากร้านมาตอนแรก
รับมือกับแฟนคลับ
เป็นอีกเรื่องที่จัดการได้ยากมาก เพราะเคยมีครั้งหนึ่งที่แฟนคลับมากันเยอะมากจนล้นห้าง ตอนนั้นมีศิลปินคนหนึ่งมาออกอีเวนท์แล้วแฟนคลับเยอะมาก ถึงขนาดดันเคาน์เตอร์ในห้างที่เป็นกระจกแตกละเอียด และทำแบ็คดร็อปล้มเลย เรียกได้ว่าต้องวิ่งให้เร็วที่สุด ทำให้ผู้จัดการต้องรู้พิมพ์เขียว เพราะแฟนคลับจะวิ่งตามสุดชีวิต ทำให้ขึ้นลิฟต์ก็ไม่ได้ อีกส่วนหนึ่งมารอที่รถแล้วเราก็จะขับรถออกไปไม่ได้ เนื่องจากคนขวางเยอะ
ซึ่งบางคนรู้จักศิลปินยันทะเบียนบ้าน ก็จะค่อนข้างน่ากลัวหน่อย แต่แฟนคลับส่วนใหญ่ก็น่ารัก เคารพสิทธิศิลปินเป็นอย่างดี แต่บางส่วนที่เป็นช่วงเด็กๆ อาจจะมีบ้างที่เข้ามาพุ่งชน เพราะอยากจะเซลฟี่กับศิลปิน
และทุกคนจะผลักผู้จัดการออก ยิ่งเวลาไปงานที่คนเยอะๆ ทั้งศิลปินและเราก็จะมีบาดแผลกันหมด แต่ตัวผู้จัดการจะเจ็บตัวเยอะสุด เพราะโดนเหยียบเท้าเลือดออกบ้าง เล็บหลุดบ้าง และเราต้องคุยกับการ์ดให้ดีด้วย เนื่องจาการ์ดเองก็คิดว่าเราเป็นแฟนคลับคนหนึ่งเหมือนกัน (หัวเราะทั้งน้ำตา)
ประสานงานกับนักข่าว
เวลาออกอีเวนท์ที่มีสัมภาษณ์ออกแบ็คดรอป ก็ต้องบริหารจัดการคิวกับพี่ๆนักข่าวให้ดี เพราะบางเจ้าก็อยากสัมภาษณ์เดี่ยว เราต้องจัดการคิวว่าใครมาก่อนมาหลัง และตั้งใจฟังคำถามดีๆว่าศิลปินของเราถูกถามคำถามที่น่าหนักใจไหม
เรื่องที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คืออะไร ?
เรื่องสุขภาพของศิลปิน
ต้องคอยดูว่าศิลปินแพ้อาหารอะไรบ้าง หรือเป็นโรคอะไรบ้างไหม เพราะสำคัญต่อสุขภาพของศิลปิน
การติดแบรนด์
ติดแบรนด์ต่างๆให้น้อยที่สุด เช่น การดื่มน้ำ อาจจะต้องระวังเรื่องฉลากน้ำดื่ม ซึ่งอาจมีกรณีดราม่าเรื่องการนำภาพศิลปินไปโฆษณา ทั้งๆที่ไม่ได้มีการว่าจ้างหรือเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้ เป็นต้น
เวลาเข้าห้องน้ำสารธารณะ
ต้องระวังเพราะกลัวโดนแอบถ่าย ซึ่งเราต้องระวังทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำชาย หรือห้องน้ำหญิงก็ตาม
ซิปกางเกงของศิลปินชาย
เวลาที่ต้องไปงานกับศิลปินผู้ชาย เราก็ต้องดูว่าเขารูดซิปหรือยัง เพราะไม่อยากให้เป็นข่าว (หัวเราะ) ตอนนั้นบังเอิญเห็นเข้า ตัวศิลปินไม่ได้รูดซิป โชคยังดีที่ยังเห็นและแก้ไขกันได้ทัน
สิ่งที่พีคที่สุดที่เคยเจอ คืออะไร ?
บางครั้งก็ควบคุมอะไรไม่ได้เลย ทำให้เราเจออะไรที่ต้องแก้ปัญหาด้วยไหวพริบของตัวเอง เช่น
ต้องทิ้งรถไว้กลางทาง
ถ้าเกิดกรณีที่ศิลปินไปงานไม่ทัน ก็ต้องทิ้งรถส่วนตัวเอาไว้ แล้วขึ้นวินมอเตอร์ไซค์ หรือขึ้นสาธารณะ (แต่ต้องปรึกษากับศิลปินก่อน) เพราะในการทำงานแบบนี้ต้องห้ามไปสายให้คนว่าได้
เจอบรีฟอย่าง แต่พอหน้างานเป็นอีกอย่าง
เคยไปงานหนึ่งที่มีบรีฟมาว่าใส่กางเกงอะไรก็ได้กับเสื้อเชิ้ต แล้วพอมางานจริงทุกคนดันใส่สูทกันหมดเลย ทางเลือกตอนนั้นมี 2 ทาง คือ
ข้อมูลอ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้จัดการศิลปิน