ปีนี้อย่างที่เห็น ๆ กันดีว่า เศรษฐกิจทั่วทั้งโลกไม่ค่อยดีนัก ซึ่งสถานการณ์โดยรวมสำหรับคนทำงานก็ไม่ดีเช่นกัน เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว “แรงงาน” อย่างเราควรที่จะพัฒนาตัวเองอย่างไร หรือองค์กรต้องควรจะปรับไปในทิศทางไหน เพื่อให้อยู่รอด พร้อมที่จะเติบโตขึ้นในอนาคต
แรงงานอาเซียน ต้องพร้อมพัฒนาทักษะตัวเอง
โดยภาพรวมทั้งในอาเซียน และในประเทศไทยนั้น มีลักษณะทิศทางไปในทางเดียวกัน คือ มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาทักษะแรงงาน และการสาธารณะสุข ที่ต้องลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ซึ่งหากว่ากันตามข้อมูลแล้วนั้น ในอาเซียนมีแรงงานมากเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมากกว่า 350 ล้านคน ซึ่งในไทยนั้นมีถึง 39 ล้านคน รองจากจีน และอินเดีย แต่ปัญหาที่พบโดยส่วนใหญ่แล้ว มีดังนี้
1. ประเทศสิงคโปร์ ต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเป็นหลัก
2. ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย ขาดแรงงานทีมีทักษะในระดับสูง โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม
3. ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ แม้จะมีแรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดทั้งทักษะ และความรู้
4. ประเทศบรูไน แม้เศรษฐกิจในประเทศนี้ ต้องพึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก แต่ยังผู้วิจัย และพัฒนา ที่จะก้าวไปสู่แรงงานอื่น ๆ
5. กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) เนื่องจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ เป็นกลุ่มประเทศที่ขาดการศึกษา ส่งผลให้ขาดพัฒนาทักษะทางวิชาชีพเฉพาะทาง
McKinsey, CNBC และ IBM แนะนำทางออกสำหรับแรงงานยุคใหม่
IBM ได้เคยระบุไว้ว่า แรงงานกว่า 120 ล้านคนจากทั่วโลก ต่างต้องพัฒนาทักษะการทำงานใหม่ ๆ อีกทั้งยังต้องพัฒนาความสามารถในการปรับตัว บริหารจัดการเวลา และความสามารถในการทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน McKinsey ได้ออกมาบอกว่า ต้องพัฒนาทักษะทั้งทางด้านสังคม, ทักษะทางด้านการวิเคราะห์ และทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้แรงแรงทำในสิ่งที่ AI ไม่สามารถทำได้ สุดท้ายที CNBC ได้ออกมาบอกว่า ในฐานะแรงงานแล้วนั้น ต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ที่ทำงานได้หลากหลาย สามารถทำงานเป็นทีม คิดวิเคราะห์ ทักษะทางด้านภาษา และเทคโนโลยี แต่สุดท้ายแล้วนั้น เราจะเห็นได้วา ทั้ง 3 ต่างมีคำแนะนำไปทางเดียวกัน
ทักษะสำคัญต้องมี หากต่างวัยต้องทำงานร่วมกัน
อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นนี้แล้วว่า เรื่องแรงงานในปัจจุบัน มีความแตกต่างเรื่องของวัยมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ทักษะที่ต้องมีในลักษณะเดียวกันคือ การคำนวณวิเคราะห์, การใช้คอมพิวเตอร์, การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ และภาษา แต่ก็ยังต้องมีทักษะรอง ที่จำเป็นอีกด้วยเช่น
5 ทักษะสำคัญช่วยให้แรงงานต่างวัยทำงานร่วมกันได้
ศิริยุพา บอกว่า ปัจจุบันแรงงานมีปัจจัยเรื่องความแตกต่างของวัยมากขึ้น แต่ทุกวัยต้องมีการทักษะในลักษณะเดียวกัน โดย 5 ทักษะสำคัญในการทำงานยุคใหม่ คือ ภาษา การใช้คอมพิวเตอร์ การคำนวณวิเคราะห์ และการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ แต่ยังมีทักษะรองที่จำเป็นต้องด้วย เช่น ปรับตัวเร็ว และมีทัศนคติดเชิงบวก เป็นต้น