ปีใหม่เก่าผ่านไป ปีใหม่มาแล้ว แต่เศรษฐกิจปีหนูยังคงถูกรุมเร้าด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ นานา กำลังซื้อไม่กระเตื้อง สบทบด้วยสงครามการค้าสหรัฐ – จีน ที่สร้างผลกระทบจนเป็นวงกว้างทั่วโลก รวมไปถึงค่าเงินบาทที่ผันผวน ประเดิมศักราชใหม่ด้วยค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี ต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานี้
ดังนั้นสถานการณ์ค้าปลีกในปีนี้จึงต้องเตรียมรับมือกับความท้าทายหลายรอบด้าน รวมไปถึงการดิสรัปต์จากเทคโนโลยี ที่ส่งผลเร็ว และรุนแรงกว่าเดิมที่ผ่านมา ดังนั้นการที่จะเข้าใปในช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการเสริมหน้าร้านอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่คงต้องทำให้เกิดเป็นออมชิแชนเนล โดยการเชื่อมทุกช่องทางเข้าหากัน แบบไร้รอยต่อ และต้องมีประสิทธิภาพที่แม่นยำด้วย
ปลาใหญ่ กินเร็ว กินทุกอย่าง
ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ได้ออกมาบอกว่า ปีนี้เป็นปีของธุรกิจ “2 แสน” คือแสนลำบาก และแสนสาหัส เพราะเศรษฐกิจยังไม่ถูกแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และกระจายรายได้ไปยังธุรกิจอื่นที่หลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ มีแต่เพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น
ในขณะเดียวกัน มีปัจจัยภายนอกอย่าง trade war ลดค่าเงินหยวนของจีน กับภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทะกับตลาดนักท่องเที่ยวโดยตรง รวมไปปถึงธุรกิจการส่งออกที่เป็นรายได้สำคัญของจีดีพีประเทศ จนเกินกว่าที่จะเข้าไปแก้ไขและจัดการ
แต่มีข้อดีของเศรษกิจในยุคนี้ คือ หากใครสามารถปรับตัวเข้าสู่ digital economy ได้นั้น ก็ยังไปต่อได้ แต่หากไม่ปรับตัว ไม่พยายามดันตัวเองเข้าไปในออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลแล้วนั้น จะมีความลำบากมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากการปรับตัวอย่างรวดเร็ว อาจไม่เพียงพอแล้วในตอนนี้ เพราะยุคนี้เป็นยุคที่แข่งขันกันด้วยข้อมูล (Data) อีกทั้งยังต้องมีความมแม่นยำ และมีประสิทธิภาพเพิ่มเข้าไปอีก เนื่องจากธุรกิจของไทยในทุกวันนี้ ไม่ได้แข่งกับแค่คนไทยอีกต่อไปแล้ว จากการเกิดขึ้นของอีอีซี ที่มีการเข้ามาตั้งคลังสินค้าของอาลีบาบา ซึ่งจะช่วงให้การสั่งของจากประเทศจีนสะดวกมากยิ่งขึ้นไปอีก
ในช่วงแรก ๆ เราอาจเคยพูดกันว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่พอถึงยุคต่อมา ก็บอกต่อกันอีกว่า ปลาเร็วกินปลาช้า แต่เมื่อถึงในยุคในปัจจุบันนี้ ปลาที่ทั้งใหญ่ ทั้งเร็ว มันจะกินทุกอย่าง ดังนั้นผู้ประกอบการทุกท่าน ต้องมีเกาะป้องกันที่ดี ไว้สู้กับภัยเศรษฐกิจในปีนี้
โดยโจทย์ของการทำค้าปลีกในยุคใหม่นี้ คือจะต้องสร้างความเชื่อมโยงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านโอเปอเรชั่น และด้านดาต้า ในทุก ๆ ช่องทางได้อย่างไร้รอยต่อ ส่วนคนที่มาจากรีเทล ยิ่งต้องทำให้รวดเร็วกว่าคนอื่น เนื่องจากทุกวันนี้คนที่มาจากออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ อย่างอเมซอน และอาลีบาบา ยังเริ่มรุกเข้ามายังออฟไลน์ เพื่อทำการสร้างอาณาจักรออมนิรีเทล อีกทั้งยังสามารถทำได้ง่ายกว่า นั่นเป็นเพราะว่าพวกเขามีฐานข้อมูล และมีความเชี่ยวชาญด้านแพลตฟอร์มเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ยิงตรงถึงลูกค้า
CEO บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด(มหาชน) ออกมาระบุว่า เทรนด์ที่กำลังจะเติบโตขึ้นในอนาคตนี้ อีกอย่างหนึ่งคือ การทำแพลตฟอร์มออมมิแชนแนล นั่นคือการทรำให้แบรนด์สินค้าหันมาเริ่มทำการตลาดแบบส่งตรงถึงลูกค้า เพื่อเป็นการสร้างช่องทางการขาย และสร้างฐานข้อมูลของตนเอง โดยที่คุณจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคาะห์หาอินไซต์ความต้องการได้ด้วยตนเอง อาจทำเป็นโปรโมชั่นแบบเฉพาะบุคคล ก็ได้เช่นกัน จากเดิมข้อมูลพวกี้จะอยู่กับมาร์เกตเพลซ หรือค้าปลีกประเภทต่าง ๆ ที่แบรนด์เข้าไปวางขายเท่านั้น
โดยการค้าจะถูกบายพาสจากรีเทลเลอร์ ไปสู่ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคือ บรรดาร้านค้าปลีกต่าง ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงไปสู่สเตจต่อไปนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องจากตัวแบรนด์สินค้าไม่มีความเชี่ยวชาญการบริหารงานค้าปลีกมาก่อน รวมไปถึงเรื่องการรับมือกับคำติชมของลูกค้าโดยตรง อีกทั้งในอนาคตจะพัฒาไปสู่ “harmonized chanel” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นของ ออมนิแชนเนล ที่ต้องใช้ทั้งเทคโนโลยี machine learnin, data mining, artificial intelligence เป็นต้น เพื่อเป็นการเข้าถึงลูกค้าแต่ละราย ได้อย่างเฉพาะบุคคล
สร้าง Customer Journey
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และการตลาดช่องทางใหม่ของบริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ออกมาชี้ให้เห็นว่า ซาบีน่า มีการปรับตัวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งการไปร่วมกับมาร์เก็ตเพลซอย่างลาซาด้า และยังมีการพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมา จนทำให้รายได้จากออนไลน์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มีสัดส่วนอยู่ถึงประมาณ 11%
โดยมีโจทย์ใหญ่คือ การให้ความสำคัญกับ Customer Journey เพื่อใช้เป็นการพัฒนาทั้งสินค้า และบริการ ที่สามารถรองรับทั้งความต้องการ และสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์ให้กับลูกค้า อีกทั้งช่องทางการขายที่สามารถครอบคลุม มีความสะดวก มีสินค้าคอลเล็กชั่นเอ็กซ์คลูซีฟ สร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ รวมไปถึงการสื่อสารกับผู้บริโภค เช่น ในการจะสร้างโฆษณาขึ้นมา 1 ชิ้นนั้น ต้องคิดต่อไปว่า สินค้านี้เป็นสินค้าอะไร อยากได้ทาร์เก็ตกลุ่มลูกค้าแบบไหน หากเป็นสินค้าเด็ก ต้องให้กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นแม่เห็น หรือเป็นสินค้าวัยรุ่น ต้องทำอย่างไรให้วัยรุ่นเห็น เป็นต้น