1. อาหารสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพ
กระแสความนิยมในเรื่องของการดูแลสุขภาพนั้น ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 22 – 40 ปี และกลุ่มคนที่มีอายุ 50 – 69 ปี ซึ่งคนกลุ่มเหล่านี้ จะเน้นลดปริมาณไขมัน และน้ำตาลลง แต่เพิ่มไปที่โปรตีน และใยอาหารในสัดส่วนที่เพียงพอ ที่ร่างกายต้องการ
2. แมลงแปรรูป
อย่างที่เรารู้ดีกันอยู่แล้วว่า แมลงนั้น มีคุณค่าอาหารทางด้านโปรตีนสูง ผู้บริโภคสามารถบริโภคแทนเนื้อสัตว์ได้เช่นกัน ดังนั้น ธุรกิจแมลงแปรรูปที่นำมารับประทานได้ รวมจากทั่วโลกมีมูลค่าถึง 20,000 ล้านบาท โดยมีตลาดเอเชียเป็นตลาดหลักในการบริโภค และส่งออก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 50% ของโลก อีกทั้งอุตสาหกรรมแมลงแปรรูป ยังเติบโตขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยปีละมาณ 25% ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา และในประเทศไทยยังเป็นตลาดที่มีการส่งออกแมลงไปขายทั่วโลก จึงส่งผลให้นักลงทุนหันมาสนใจทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกันมากขึ้น
3. อาหารสำหรับผู้สูงอายุ
มีประมาณการว่า ประเทศไทยในปี 2565 จะมีผู้สูงวัยอายุ 70 ปี มากถึง 5 ล้านคน ดังนั้นความต้องการในสินค้าโภชนาการ ที่เหมาะกับผู้สูงวัย จึงมีมากขึ้นตาม ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารสำหรับผู้สูงอายุ และอาหารเฉพาะบุคคลขยายตัวสูงขึ้น ตามไปด้วยเช่นกัน
4. โปรตีนแทนเนื้อสัตว์
โปรตีนที่ได้จากพืช และนมพืชเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์นั้น คือ “สาหร่าย และถั่ว” โดยกลุ่มโปรตีนจากพืช และนมพืช จะมีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวถึง 7% ตามความนิยมของผู้บริโภค ที่ต้องการอาหารโปรตีนสูง เพื่อสร้างสมดุลทางด้านโภชนาการทดแทนเนื้อสัตว์ และต้องการสร้างกล้ามเนื้อ รวมไปถึงผู้บริโภคที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพ โดยลดความเสี่ยงที่มาจากเนื้อสัตว์
5. ธุรกิจอาหารริมทาง
หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ สตรีทฟู้ด มีแนวโน้มการขยายตัวขึ้นมาก ซึ่งคาดการณ์จากมูลค่าตลาดในปี 2562 รวมไปถึงการบริการสั่ง และส่งสินค้าผ่านทางธุรกิจบริการสั่งอาหาร เช่น LineMan, FoodPanda, GrabFood, ซึ่งดำเนินธุรกิจแบบ B2B ประกอบกับผู้บริโภคหันมาทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น และอาหารริมทางจึงมักเป็นตัวเลือกแรก ๆ เนื่องจากมีราคาถูก และรสชาติถูกปากคนไทย ที่สำคัญอาหารริมทางของไทยถือเป็นเอกลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องมาลิ้มลอง
6. อาหารท้องถิ่น
ในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจกับสินค้าที่มาจากท้องถิ่นก่อน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ผลไม้ หรือเครื่องดื่ม สืบเนื่องมาจากเทรนด์การรักษาสุขภาพ ผู้บริโภคกลุ่มนี้ จึงมองว่า วัตถุดิบที่ได้จากแหล่งกำเนิดนั้น มีคุณภาพที่สูงกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการทั้งหลาย จึงเริ่มหันมาใช้วัตถุดิบหลักที่มาจากธรรมชาติ และแหล่งเพาะปลูกจากท้องถิ่นเสียเป็นส่วนใหญ่