แฉอาชีพฟรีแลนซ์ อย่างหมดเปลือก ภาค 2

ฟรีแลนซ์ - อาชีพรับจ้างอิสระ

อยากที่เราได้เกริ่นไว้ในภาคที่ 1 แล้วว่า หากใครต้องการมาทำอาชีพฟรีแลนซ์แล้วนั้น ต้องเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง และปัญหาที่เรากล่าวไปภาค 1 นั้น ยังไม่จบปัญหาแค่นั้น ยังเหลือปัญหาอีก 3 ปัญหา ให้คุณได้เข้ามาศึกษากัน ซึ่งหากใครที่ได้อ่านบทความนี้มาจากภาค 1 แล้ว เรามาต่อที่ภาค 2 กันครับ แต่หากเพื่อน ๆ ท่านใดที่ยังไม่ได้อ่านภาค 1 เราอยากขอให้คุณกลับไปอ่านที่ภาค 1 ก่อน เพื่อที่คุณจะทำความเข้าใจได้ดีขึ้น มาต่อกันปัญหาที่ 3 เลยครับ

3.ปัญหาเดือนนี้ไม่มีงานรองรับ

เป็นปัญหาเบสิคเลยก็ว่าได้ เพราะหากคุณเปลี่ยนใจมาทำอาชีพฟรีแลนซ์ จะต้องพบเจอกับปัญหานี้ คือ จะหางานอย่างไร ให้พอดีกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของเรา แนะนำว่าหากคุณยังมีผลงานน้อยกว่า 5 ชิ้น อย่าเพิ่งลาออกจากงานประจำมาทำอาชีพฟรีแลนซ์ เพราะการทำงานฟรีแลนซ์ จะต้องมี Portfolio ผลงานที่แตกต่าง เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า และพร้อมที่จะนำเสนอลูกค้าว่า เราเคยผ่านงานอะไรมาบ้างแล้ว

สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ ฝึกทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ เพราะทักษะการออกแบบที่ทันสมัยในตอนนี้ ต้องสามารถรับงานจากลูกค้าต่างประเทศได้ เพื่อที่จะเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง

นอกจากนั้น อย่าหารายได้จากช่องทางเดียว ลองดูงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเราได้ เช่น หากคุณรับทำเว็บไซต์ เราก็รับดูแลเว็บเป็นงานเสริม

4. ทำงานทั้งวันทั้งคือ ไม่มีวันหยุดพักผ่อน

เพราะเรามีอาชีพเป็นฟรีแลนซ์ ดังนั้นเนื้อหางานของเรา จะต้องหนักกว่าการทำงานประจำ ซึ่งเราอาจต้องทำงานแบบข้ามวัน ข้ามคืนกันเลยทีเดียว รวมไปถึงวันหยุดพักผ่อนด้วย ต้องยอมเสียสละ เพื่อที่จะให้งานออกมาทันตามกำหนดเวลา รวมไปถึงเรื่องของโทรศัพท์ด้วย ลูกค้าอาจโทรตามแม้ขณะเวลาพักเที่ยง หรือเวลาที่คุณนอนไปแล้ว

5. ไม่มีโบนัส ไม่มีค่ารักษาพยาบาล

เพราะว่าการทำงานฟรีแลนซ์ ไม่เหมือนกับงานประจำ ดังนั้นหากคุณเลือกที่จะรับงานฟรีแลนซ์แล้ว ควรมองเป้าหมายไปที่รายรับ ควรมีรายรับที่มากกว่าเงินเดือนประจำของคุณถึง 2 เท่าขึ้นไป เพราะต้องรวมไปถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันสังคม ค่าใช้จ่าย และภาษีอื่น ๆ ในอนาคต แต่อย่าลืมว่า ขณะที่คุณนอนป่วยนั้น ทางผู้ว่าจ้าง ก็ไม่มีวันลาหยุดให้คุณนะครับ

 

เมื่อคุณอ่านบทความนี้จบแล้ว ยังมีความต้องการที่จะเป็นฟรีแลนซ์อยู่ อยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนจะลาออกจากงานประจำ เพราะถ้าหากเรายังไม่มีฐานลูกค้า หรือยังไม่มีรายรับที่มั่นคง อยากให้ไคร่ครวญอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นผู้ลาออกควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลาออก