ไม่มีบ้านอยู่ – ตกงาน – อายุสั้น 3 ปัญหาใหญ่คนยุคใหม่ต้องเจอ

เรื่องที่น่าสนใจล่าสุด

ในการประชุมเศรษฐกิจโลกประจำปี 2020 World Economic Forum Annual Meeting ถือเป็นปีแรก ที่มีคนหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าร่วมงาน อีกทั้งยังได้เป็นผู้นำคนรุ่นใหม่มากถึง 10 คน โดย World Economic Forum มองถึง 3 ประเด็นหลักนี้สำคัญมาก จนกลายเป็นความท้ายทายใหม่ของคนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน

ประเด็นแรก คือ ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย

โดยคนหนุ่มสาวในแถบยุโรป สัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ยังคงอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ยังไม่มีบ้านอยู่เป็นของตัวเอง แต่การที่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีบ้านอยู่นี้ ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงไปถึงพื้นที่จากประเทศพัฒนาแล้วด้วย

แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเดือนของคนรุ่นพ่อแม่แล้ว พบว่าหนุ่มสาวยุคปัจจุบันนี้ มีรายได้ที่ต่ำกว่าพ่อแม่ตัวเองเสียอีก และไม่ใช่เป็นแค่ในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษเท่านั้น แต่เป็นแบบนี้กันทั้งโลก ซึ่งสัดส่วนของคนรุ่นใหม่ที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ใน World Economic Forum ได้ระบุว่า เป็นช่วงคนวัยอายุตั้งแต่ 16 – 29 ปี ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากเปรียบเทียบโดยแยกออกเป็นชาย – หญิงแล้วนั้น พบว่าในประเทศแถบยุโรปวัยรุ่นยุคใหม่ที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ เพศหญิงมีจำนวนถึง 62.9% และประเทศที่มีหญิงสาวอยู่กับพ่อแม่มากที่สุดนั้น คือประเทศ มอลตา มากถึง 82.4% ขณะสัดส่วนประเทศที่ต่ำสุดคือ ประเทศฟินแลนด์มีจำนวน 30.1%

ในอัตราส่วนของผู้ชายที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ในพื้นที่ยุโรปนั้น พบว่า ประเทศโครเอเชียมีมากถึง 93.1% และสัดส่วนที่น้อยที่สุดอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ก อยู่ที่ 39.5% ทั้งนี้ รายได้ของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 25 – 34 ปี มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 19% แต่หากถามถึงเรื่องสัดส่วนในการมีบ้านอยู่เป็นของตัวเอง และเทียบกับปี 1997 คนหนุ่มสาวที่มีบ้านอยู่เป็นของตัวเอง มีมากถึง 55% ในขณะที่ปี 2017 มีเพียงแค่ 35% ลดลงไปถึง 20%

ขณะเดียวกัน ในสหรัฐอเมริการนั้น ราคาบ้านมีอัตราสูงขึ้นถึง 4 เท่า นับแต่ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา โดยจำนวนคนไร้บ้าน ก็มีอัตราที่สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน นับตั้งแต่ปี 1949 ถึงปี 2018 สัดส่วนในการผ่อนบ้าน เมื่อเทียบกับ GDP เติบโตมากขึ้นจาก 15% เป็น 80% กันเลยทีเดียว

 

ประเด็นที่สอง คือ เรื่องของอายุที่ยืนยาวของคนรุ่นใหม่

ผลเวลาทำงานของคนหนุ่มสาวที่จะยาวนาน หรือลดลง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. กรณีช่วงอายุการทำงาน ที่ยาวนานขึ้น

ในที่นี้ เราอาจจะเห็นว่า มีการยืดอายุการเกษียณที่ออกไปเรื่อย ๆ ในหลาย ๆ พื้นที่ โดยเฉพาะยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ อีกทั้งในประเทศไทยแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเลย เพราะเรื่อง Brand Inside เราก็ได้เล่ากันมากหลายต่อครั้งแล้วว่า ในกรณีที่มีอายุที่มากขึ้นแล้ว แต่ยังมีฐานะที่ยากจน อีกทั้งต้องแบกรับภาระหนี้ที่เยอะมาก สุดท้าย แม้ว่าเราจะอายุมากแล้วนั้น แต่ก็ยังคงต้องทำงานอยู่ เพื่อให้มีรายได้ใช้ต่อไป จนกว่าจะสิ้นอายุขัย

1. กรณีอายุขัยเฉลี่ยลดลง

ในเรื่องนี้นั้น สุขภาพจิตมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก โดยในประเทศอเมริกา มีประชากรเสียชีวิตจากอาการสิ้นหวังเพิ่มขึ้น และโดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเรื่องการเงิน เนื่องจากรายได้ไม่พอใช้ จึงนำไปสู่อาการเศร้า ซึม เครียด สิ้นหวัง

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2010 – 2017 พบว่า ช่วงวัยทำงานอยู่ที่ 25 – 64 ปี และอัตราในการเสียชีวิต เพิ่มขึ้นจาก 328.5 ต่อ 1 แสนราย เพิ่มเป็น 348.2 ต่อ 1 แสนราย โดยสาเหตุหลักมาจากการดื่มแอลกอฮอล์หนัก ใช้ยาเกินขนาด และฆ่าตัวตาย

ในประเทศอังกฤษนั้น คาดว่าจะอยู่ที่อายุขัยต่ำกว่า 50 ปี โดยสาเหตุหลักมาจาก ดื่มแอลกอฮอล์หนัก ใช้ยาเกินขนาด และฆ่าตัวตายสูง ในคนวัย 20 – 49 ปี

โดยในไทยนั้น ตัวอย่างที่กรุงเทพมหานคร แค่เพียงแห่งเดียวยังมีมากถึง 7 ใน 10 ที่มีสภาวะหมดไฟ

 

ประเด็นที่สาม คือ เรื่องตกงาน หรือว่างงาน

ในกรณีวางงาน ในคนรุ่นใหม่นี้ ถือเป็นปัญหาระดับโลก โดยเว็บไซต์ Plan International รายงานว่า คนรุนใหม่ที่มีอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ไม่ได้รับการศึกษา ยังไม่มีงานทำ และยังไม่ได้รับการฝึกอบรมอีกด้วย ในขณะที่คนรุ่นใหม่จำนวน 75 ล้านคน ได้รับการฝึกอบรม แต่ยังไม่มีงานทำ

ในอนาคตภายภาคหน้า จะมีคนรุ่นใหม่ประมาณ 1 พันล้านคน เข้าสู่ตลาดแรงงานราว 90% โดยเป็นคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในประเทศที่กำลงพัฒนา และแค่ประเทศสมาชิกใน OECD และจะมีคนรุ่นใหม่ที่ว่างงานอีกเป็นจำนวนมาก เช่น 3 ประเทศที่มีอัตราในการว่างงานสูงสุดคือ กรีซ 40%, สเปน 34%, อิตาลี 32% นอกจากนี้ในประเทศแอฟริกาใต้ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ยังว่างงานถึง 53%

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีการประเมินออกมาว่า ในปี 2016 จะมีคนรุ่นใหม่ราว 13.1% หรือประมาณ 71 ล้านคนที่ยังว่างงาน เมื่อเทียบกับปี 2015 แล้วนั้น เพิ่มขึ้นถึง 12.9% อีกทั้งยังมีการประเมินว่า คนรุ่นใหม่ราว 23% ที่ว่างงานในโลก จะอาศัยอยู่ได้ด้วยเงินเพียง 1.25 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณเพียงแค่ 38 บาทเท่านั้น

ซึ่งเศรษฐกิจในไทยตอนนี้ รายได้ และรายจ่ายลดลง อีกทั้งยังเป็นหนี้มากขึ้น การออมเงินมีจำนวนลดลง มีความเปราะบางทางการเงินมากขึ้น เหงา ซึมเศร้า หมดไฟ อาการทางใจที่คนในยุคนี้เป็นกันเยอะ