“ไม่มีหน้าร้าน” ขายอาหาร “คนงานน้อย” ต้นทุนต่ำ ไม่มีวันเจ๊ง

คัมภีร์เศรษฐี 4.0

ในทุกวันนี้ ผู้คนหันมาใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่กันมากขึ้น เพราะมีโทรศัพท์มือถือที่ช่วยให้การสั่งอาหารจากร้านต่าง ๆ ได้สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังไม่ต้องไปเผชิญกับปัญหารถติดที่นับวันจะติดมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จากกระแสเดลิเวอรี่อาหารที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก โดยข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด ได้ออกผลประเมิณออกมาว่า ปัจจุบันตลาดเดลิเวอรี่อาหาร ผ่านระบบออนไลน์ทั้งทั่วโลก มีมูลค่าราว 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปอีกถึง 11% ต่อปี ในจนถึงปี 2566 กันเลยทีเดียว

โดยเฉพาะในเอเชีย ตลาดเดลิเวอรี่สั่งอาหารออนไลน์ ได้เติบโตอย่างเห็นได้ชัด ประเมินได้ว่าน่าจะมีมูลค่าถึง 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งโลก และนี่จึงทำให้ธุรกิจขายอาหารแบบไม่มีหน้า หรือที่นิยมเรียกกันว่า Ghost Restaurants ซึ่งเน้นทำอาหารเฉพาะเดลิเวอรี่เท่านั้น โดยเว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียนได้ออกมาระบุวา ร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านนั้น ผุดเกิดขึ้นอย่างมากมายในประเทศจีน อินเดีย และญี่ปุ่น เพราะนอกจาจะรองรับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคนี้แล้วนั้น ยังเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ใช้ต้นทุนต่ำ แม้มีเงินทุนน้อย ก็สามารถสร้างธุรกิจนี้ขึ้นได้ อีกทั้งไม่ต้องเสี่ยงเจ๊ง เหมือนกับการมีหน้าร้าน มีที่ให้ลูกค้านั่งทาน และที่สำคัญ ยังไม่ต้องปวดมาปวดหัวเรื่องการขาดแคลนคนงานอีกด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน ยังสามารถปลุกธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันได้อีกด้วย นั่นคือ การแบ่งครัวกันใช้ โดยร้านเล็ก ๆ สามารถเช่าครัว 1 ครัว เพื่อใช้ร่วมกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเงินทำห้องครัวเอง อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือ “Panda Selected” ผู้เปิดให้บริการครัวแบ่งกันใช้ในประเทศจีน โดยในปัจจุบันนี้ มีร้านอาหารมาใช้บริการแล้วกว่า 500 แห่ง จากจำนวนสาขา 103 แห่ง ทั่วทั้งในกรุงปักกิ่ง นครเซี่งไฮ และในเมืองใหญ่ ๆ อีก 2 เมือง โดยมี CEO ใหญ่ ได้ออกมาเปิดเผยว่า Panda Selected ได้เปิดให้บริการมานานกว่า 3 ปี บอกได้ว่า ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากพฤตกรรมผู้บริโภคชาวจีนนั้น ได้หันมาใช้บริการเดลิเวอรี่กันมาขึ้น แทนการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน

โดยมีการกล่าวย้ำอีกว่า ธุรกิจแบ่งครัวกันใช้นี้ ส่งผลให้บรรดาพ่อครัว และแม่ครัวต่างมีมาร์จิ้นกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 20% เมื่อเทียบกับกับการเปิดแบบมีหน้าร้าน นำโดยบริษัท อูเบอร์ อีตส์ ได้จับมือกับเชนคาเฟ่อินเดีย อย่าง “คาเฟ่ คอฟฟี่ เดย์” เพื่อให้บริการเครือข่ายร้านอาหารเฉพาะดีลิเวอรี่ ในด้านBOX8 ร้านอาหารไม่มีหน้าร้านชื่อดัง ได้เปิดให้บริการตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ทั้งในมุมไบ ปูเน่ และบังกาลอร์ อีกทั้งยังมีแบรนด Curry Me Up และ Kadhai House ได้ให้ความสนใจในธุรกิจนี้เช่นเดียวกัน

“เรดเซียร์” ได้ออกมาประเมินว่า ตลาดเดลิเวอรี่อาหารผ่านทางออนไลน์นั้น ในอินเดียน่าจะมีมูลค่าถึง 4,000 ดอลลาร์ ภายในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 300 ล้านดอลาร์

 

ส่วนในประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้มีบริษัทสตาร์ตอัพ “เซนโตเอน” เริ่มเปิดบริการแบ่งครัวกันใช้ในชื่อว่า “Kitchen Base” เริ่มแรกนั้น เปิดให้ใช้ห้องครัว 4 ห้อง และรองรับร้านอาหารที่เสิร์ฟเฉพาะเดลิเวอรี่ มีทั้งหมด 8 ร้านค้าที่ใช้บริการ แบ่งเป็นตอนกลางกวัน 4 ราย และในตอนกลางคืนอีก 4 ราย โดยคิดค่าธรรมเนียมประมาณ 100,000 – 150,000 เยนต่อเดือน ข้อมูลจาก “เจแปน ไฟแนนซ์ คอร์ป” และหน่วยงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ออกมาระบุว่า มีผู้คนมากกว่า 80% ไม่สามารถเปิดร้านอาหารได้เหมือนอย่างที่ใจอยาก โดยมีเหตุผลหลัก ๆ ที่เหมือน ๆ กันคือ เรื่องขาดแคลนเงินทุน อีกทั้งไหนจะต้องเสี่ยง หากเปิดร้านแล้วไปไม่รอด

ยิ่งการที่ญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วนั้น เจ้าของร้านสูงวัย คงไม่อยากทำงานไปนาน ๆ อีกทั้งในบางวันอาจต้องมีการปิดร้านไปหาหมอ เท่ากับว่า แนวคิดการขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน และการแบ่งครัว จะสามารถช่วยพ่อค้าแม่ค้าได้มาก

 

ข้ามไปทางฝั่งสหรัฐอเมริกา บริษัทคิทเชน ยูไนเต็ด มีแผนการจะบุกไปยังนิวยอร์ก ซึ่งมีการเตรียมเปิดครัวถึง 8 แห่ง ภายในสิ้นปีนี้ นอกเหนือไปจากครัวในเมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย และเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์

ขณะเดียวกันร้าน &pizza และสตาร์ตอัพ Zume ได้ผนึกกำลังเปิดตัว “ครัวเคลื่อนที่” โดยก้าวล้ำไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งครัวเคลื่อนได้นี้ นอกจากจะช่วยให้คุณประหยัดในเรื่องของต้นทุน ทำเลของร้าน เหมือนกับครัวแบ่งกันใช้แล้วนั้น แต่มีความแตกต่างที่สำคัญคือ ยังเป็นร้านที่ติดล้อ สามารถขายอาหารได้ตามท้องถนนอีกด้วย เหมือนเช่นร้านฟู้ดทรักทั้งหลาย ที่มีบริการเพิ่มเติมไปจากบริการเดลิเวอรี่

แม้ว่าฟู้ดทรักจะเป็นธุรกิจที่เพิ่งได้รับความนิยมได้ไม่นาน แต่หากมีการโปรโมทที่ดี มีการสร้างแบรนด์ พร้อมส่งเสริมการขายผ่าน Social Media ต่าง ๆ ซึ่งน่าจะได้ผลสำเร็จ เพราะในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี เพื่อทำการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าว่า วันนี้หรือในสัปดาห์นี้ ครัวเคลื่อนที่ได้ของคุณนั้น จะไปจอดตรงจุดไหน ออกงานอะไรบ้าง หรือร่วมกิจกรรมในรูปแบบไหนได้บ้าง ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ทำให้ธุรกิจขายแบบไม่มีหน้าร้านนั้น สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านมากยิ่งขึ้น