ผู้ประกอบการ / ลูกจ้าง ความแตกต่าง ที่ต้องอยู่ร่วมกัน

คัมภีร์เศรษฐี 4.0

รู้ไหมว่า ในคนบางประเภทนั้น ทำงานโดยใช้วันเส้นตายเป็นตัวกำหนด ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่ง ทำงานโดยต้องวางแผนถึงความสำเร็จเป็นหลัก บางคนก็คิดก่อนทำ บางท่านก็ทำก่อนคิด ซึ่งความแตกต่างนั้นคือ ผู้ประกอบการ กับ ลูกจ้าง ซึ่งบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ จะมีโลกที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องอุปนิสัย วิถีการใช้ชีวิต ทิศทางในการเดิน และแทบจะทุกสิ่งที่ไม่เหมือนกัน และนี่คือความแตกต่างของคนทั้งสองกลุ่ม

ลูกจ้าง ทำงานอย่างมีข้อจำกัด / ผู้ประกอบการ ทำงานด้วยทักษะที่มี

ลักษณะการทำงานของผู้ประกอบนั้น จะมีความคาดหวังแตกต่างไปจากลูกจ้างอย่างสิ้นเชิง จะไม่มีใครถามผู้ประกอบการว่า เขามีจุดอ่อนหรือไม่มีความสามารถในด้านใด มีแต่จะถามว่า ความสามารถที่มีผลดีต่อสภาวะตลาดอย่างไร เช่น มีทักษะในการวางแผนธุรกิจ มีทักษะในการเป็นผู้นำอย่างไรบ้าง เป็นต้น

ในขณะที่ลูกจ้าง ทำงานด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อที่จะสร้างความมั่นคงให้กับหน้าที่การงานเท่านั้น

ลูกจ้าง มองหาทิศทาง / ผู้ประกอบการ สร้างหนทาง

ผู้ประกอบการ คือคนที่สู้ด้วยสัญชาตญาณของตนเอง ตัดสินอนาคตด้วยผลจากการกระทำที่ผ่านมา พวกเขาจะยืนหยัดในความแตกต่างจากคนอื่น และไม่ต้องการคำแนะนำในเรื่องการตัดสินใจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องชีวิต

ลูกจ้าง ในเรื่องของการทำงานนั้น ต้องการคนแนะนำ เมื่อเจอกับปัญหาต่าง ๆ อีกทั้งยังต้องมีคนคอยช่วยตรวจสอบผลงานเป็นระยะ ๆ ของการทำงาน

ลูกจ้าง ใช้ชีวิตเลี่ยงที่จะเสี่ยง / ผู้ประกอบการ ใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยง

ผู้ประกอบการ จะมีสิ่งหนึ่งที่ต้องเผชิญ และเลี่ยงไม่ได้เลยคือ ปัจจัยในความเสี่ยง และต้องบริการความเสี่ยง เพราะมันเป็นความสามารถพิเศษของพวกเขา ที่ต้องสามารถเผชิญหน้ากับความเสี่ยง เพื่อให้องค์กรเดินหน้าไปได้ ตามแผนธุรกิจที่กำหนดเอาไว้ เพราะบทสำคัญที่สุดสำหรับพวกเขาคือ ยิ่งเสี่ยงมากเท่าไร ก็จะยิ่งได้กำไรมากขึ้นเท่านั้น

ลูกจ้า จะถนัดเรื่องหลีกเลี่ยงความเสี่ยง แต่รู้ไหมว่า ความปลอดภัยที่คุณอยู่นั้น ไม่สามารถช่วยให้มีความสร้างสรรค์อะไรได้เลย แต่สิ่งเดยวที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้คือ การอยู่เบื้องหลังองค์กรธุรกิจที่ถูกสร้างไว้อย่างเข้มแข็ง

ลูกจ้าง ต้องถูกกำหนดกฎเกณฑ์ / ผู้ประกอบการ คือคนฉีกกฎ

ผู้ประกอบการ จะไม่สนใจว่า กฎเกณฑ์คืออะไร เพราะสำหรับผู้ประกอบนั้น การยึดติดกับกฎเกณฑ์ คือการทำงานที่ไม่สนุกสนาน สำหรับพวกเขา ความสร้างสรรค์ จะต้องเสียไป หากต้องเดินทางกฎเกณฑ์

ลูกจ้าง ชอบที่จะใช้ชีวิตในกฎเกณฑ์ และต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในกฎเกณฑ์ที่ได้ผลประโยชน์เท่านั้น ดังนั้นการฝืนกฎเกณฑ์ จึงเปรียบเสมือนการทำบาปของพวกเขา ถ้าหากองค์กรไม่อนุญาตให้พวกเขาทำ เขาจะไม่ทำมันอย่างเด็ดขาด