หากต้องพูดถึงเทรนด์ยอดฮิตในยุคนี้ ก็คงไม่พ้นเศรษฐกิจที่มีระบบการจ้างงานรูปแบบชั่วคราย และในระยะสั้น โดยมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในระยะ 10 ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาชีพฟรีแลนซ์ขยายตัวเป็นอย่างมาก ส่งผลมาจากการเติบโตของสังคมดิจิทัลออนไลน์นั่นเอง จึงทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้สะดวก และง่ายขึ้น โดยมีการคิดแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ขึ้น เช่น แอพพลิเคชั่นรับส่งอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ เป็นต้น
กอบกับไลฟ์สไตล์ของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ที่ต้องการทำงานอย่างมีอิสระ สามารถทำงานโดยบริหาร และจัดการเวลาของตัวเองได้ อีกทั้งคนที่เพิ่งเรียนจบ และหางานทำนั้น มีจำนวนที่ไม่น้อย ที่ไม่อยากทำงานประจำ นั่งอยู่ในออฟฟิศ แต่มีความไฝ่ฝั่นที่จะเป็น “ฟรีแลนซ์” เฉกเช่นพนักงานลูกจ้างประจำ ก็มีความฝันเช่นเดียวกันคือ ออกจากงานมาเป็นฟรีแลนซ์ แต่ในอาชีพฟรีแลนซ์นั้น ต้องมีทักษะสำคัญอะไรบ้าง ที่คุณต้องมี และต้องเป็นสิ่งที่แตกต่างจากการทำงานเป็นลูกจ้างประจำ วันนี้เราจึงมี 3 ทักษะ ที่คุณต้องมี หากอยากเป็น ฟรีแลนซ์ มาฝากกันค่ะ
1. ทักษะด้านบริหาร และจัดการ
หากคุณมีชีวิตแบบอยู่ในองค์กรนั้น หน้าที่การงานจะถูกแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ จนทำให้คนที่เคยเป็นพนักงานประจำ โดยเฉพาะในองค์กรใหญ่แล้วนั้น จะถูกจำกัดให้ใช้เวลาในส่วนของงานตัวเองเท่านั้น แต่ในการเป็นฟรีแลนซ์นั้น คุณต้องรับงานของทุกส่วน ทุกแผนก ไว้อยู่ที่คุณคนเดียวเท่านั้น รวมไปถึงการเจรจาต่อรอง จัดการปัญหาต่าง ๆ และติดต่อประสานงานเป็นต้น
2. เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
การเป็นพนักงานประจำนั้น มีข้อได้เปรียบอยู่ตรงที่ว่า คุณมีผู้บริหารคอยดูแลให้คำแนะนำ และมีการจัดฝึกอบรมให้กับคุณ หรือในบางองค์กร อาจมีการจัดไปดูงานข้างนอก เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับพนักงานใหม่ ๆ แต่สำหรับอาชีพ “ฟรีแลนซ์” เรื่องการพัฒนาความรู้นั้น ต้องหาด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ ดังนั้นชาวฟรีแลนซ์จึงต้องนำตนเอง ไปอยู่ในช่องทางการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาฝีมือของตนเอง ให้เพียงพอสำหรับการแข่งขันในตลาด “ฟรีแลนซ์”
3. ทักษะในการเจรจาต่อรอง
การสื่อสารเจรจาต่อรองที่ดีนั้น เกิดขึ้นจากการฟัง ซึ่งการทำงานอิสระที่ต้องรับโจทย์จากลูกค้า เรื่องของการฟังความต้องการจากผู้ว่าจ้างนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเมื่อเป็นงาน Outsource นั้น อาจไม่ใช่งานที่ลูกค่าชำนาญ หรือเป็นงานที่ลูกค้าไม่ได้ดำเนินการบ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานประจำ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ลูกค้าอาจสื่อสารสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างไม่ชัดเจน จึงต้องเป็นหน้าที่ของคุณ ที่ต้องเข้าใจถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของลูกค้า